วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเพิ่มรูปภาพ




การเพิ่มรูปภาพทำได้ดังนี้

ตามรูปแบบตัวอักษรที่มีความเกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 1 การสร้างรูปแบบ

ขั้นที่ 2 รูปแบบที่ทันสมัยสมบูรณ์

ขั้นที่ 3 การใช้บล็อก

ขั้นที่ 4 รูปแบบ

ขั้นที่ 5 บล็อก

การเรียนเว็บบล็อก

ตอนที่ ๒ ดนตรี
แผนผังความคิด แสดงแผนการจัดการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ดนตรีไพเราะ
บทที่ ๑ การฟังเสียงดนตรี (๓ ชั่วโมง) มฐ. ศ ๒.๑ (๑)
แผนการเรียนรู้ที่ ๑.๑ การฟังเสียงดนตรี (๓ ชั่วโมง)
ความคิดรวบยอด การบรรเลงดนตรีเป็นวง เป็นการเล่นดนตรีให้ประสานกลมกลืนกัน สามารถ สื่อความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้
สาระการเรียนรู้ ๑. หลักการฟังดนตรีที่บรรเลงเป็นวง
๒. วงดนตรีไทย
๓. วงดนตรีพื้นบ้าน
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. อธิบายคุณสมบัติของเสียงดนตรีที่บรรเลงเป็นวงได้
๒. บอกชื่อและประเภทของวงดนตรีได้
๓. บอกความรู้สึกเมื่อฟังการบรรเลงดนตรีได้กิจกรรมการเรียนรู้
๑) ขั้นเกริ่นนำ
ให้นักเรียนเล่นเกม ชื่อเครื่องดนตรี โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มแข่งขันกันเขียนชื่อเครื่องดนตรีไทยจากภาพ กลุ่มใดเขียนได้ถูกต้องมากที่สุด เป็นฝ่ายชนะ
๒) ขั้นสอน
๑. ครูสนทนาถึงหลักการฟังดนตรีว่า นักเรียนแต่ละคนมีหลักในการฟังอย่างไร ให้นักเรียนแลก
เปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากนั้นครูสรุปหลักการฟังเสียงเครื่องดนตรี
ที่บรรเลงเป็นวง
๒. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือดูภาพการบรรเลงวงดนตรีไทย แล้วถามนักเรียนว่า วงดนตรีไทยที่เห็น
มีเครื่องดนตรีอะไรประกอบอยู่บ้าง และเป็นวงดนตรีประเภทใด
๓. ครูอธิบายถึงประเภทของวงดนตรีไทย พร้อมกับยกตัวอย่างประเภทและชนิดของวงดนตรีไทย โดย
ใช้ภาพประกอบ
๔. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๓ กลุ่ม แล้วครูแจกภาพวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี กลุ่มละ ๑
ภาพ แล้วให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับภาพวงดนตรีไทยที่ครูแจกให้ จากนั้นให้ตัวแทน
กลุ่มออกมารายงานที่หน้าชั้น
๕. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง วงดนตรีไทย
๖. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือดูภาพการบรรเลงวงดนตรีพื้นบ้าน แล้วถามนักเรียนว่า เป็นวงดนตรี
อะไร มีเครื่องดนตรีอะไรประกอบอยู่บ้าง จากนั้นครูอธิบายว่า วงดนตรีนี้ คือ วงดนตรีพื้นบ้าน เป็น
วงดนตรีที่ใช้บรรเลงในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน
๗. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม แล้วครูแจกภาพวงดนตรีของภาคต่างๆ กลุ่มละ ๑ ภาพ ให้แต่ละ
กลุ่มค้นคว้า หาความรู้เกี่ยวกับภาพวงดนตรีที่ครูแจกให้ จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มออกมารายงานที่
หน้าชั้น
๘. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน
๙. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะงานดนตรีใน มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๔๘, ๑๔๙
๓) ขั้นสรุป
๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับ การฟังเสียงดนตรี
๒. ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๔๐ - ๑๔๗
๓. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดใน มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๐
สื่อการเรียนรู้ ๑. เกม ชื่อเครื่องดนตรี
๒. วีดิทัศน์หรือภาพการบรรเลงวงดนตรีไทย
๓. ภาพประเภทและชนิดของวงดนตรีไทย
๔. วีดิทัศน์หรือภาพการบรรเลงวงดนตรีพื้นบ้าน
๕. ภาพวงดนตรีพื้นบ้านของภาคต่างๆ
การประเมินผล ๑. สังเกตการบอกชื่อและประเภทของวงดนตรี
๒. สังเกตการสนทนาแสดงความคิดเห็น
๓. ตรวจแบบฝึกทักษะงานดนตรี และแบบฝึกหัด
หมายเหตุ : ให้ครูบันทึกหลังการสอน โดยดูแบบบันทึกจาก หน้า ๓
บทที่ ๒ การขับร้องและบรรเลงดนตรี (๔ ชั่วโมง) มฐ. ศ ๒.๑ (๒)
แผนการเรียนรู้ที่ ๒.๑ การขับร้องและบรรเลงดนตรี (๔ ชั่วโมง)

ความคิดรวบยอด การขับร้องและบรรเลงดนตรีให้ไพเราะ ต้องรู้จักนำหลักการขับร้องและ องค์ประกอบ ของดนตรีมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม
สาระการเรียนรู้ ๑. การขับร้องเพลง ๒. การบรรเลงเครื่องดนตรี
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. ขับร้องเพลงไทยเดิมและเพลงไทยสากลได้
๒. เข้าใจวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีและบรรเลงเครื่องดนตรีไทยอย่างง่ายๆ ได้
กิจกรรมการเรียนรู้
๑) ขั้นเกริ่นนำ
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ ๔ – ๕ คน ให้แต่ละกลุ่มร้องเพลงไทยสากลกลุ่มละ ๑ เพลง โดยเลือกเพลงที่นักเรียนชอบ
๒) ขั้นสอน
๑. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การขับร้องเพลงไทยเดิม ทั้งร้องเดี่ยวและร้องหมู่ แล้วให้นักเรียนสังเกต
การร้องเพลงว่าเป็นอย่างไร เช่น นักร้องออกเสียงเต็มเสียงหรือไม่ จังหวะและทำนองเป็นอย่างไร
ท่าทางในการร้องเป็นอย่างไร เป็นต้น
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับหลักการขับร้องเพลง โดยให้นักเรียนเปิดหนังสือ
มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๒, ๑๕๓ ประกอบ
๓. ครูให้นักเรียนฟังเพลง เขมรอกโครง และเพลง ลาวเดินดง จากเทปเพลง หรือครูร้องให้นักเรียนฟัง
แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายของเนื้อร้อง จังหวะ ทำนอง และประเภทของเพลง
๔. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือ มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๔ แล้วฝึกอ่านเนื้อเพลงไทยเดิม จากนั้นครูแบ่ง
นักเรียน ออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพลงที่ได้ฟังจากเทปกลุ่มละ ๑ เพลง นำไปฝึกร้อง
แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงให้เพื่อนๆ ฟังที่หน้าชั้น
๕. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การขับร้องเพลงไทยเดิม
๖. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การขับร้องเพลงไทยสากล ทั้งร้องเดี่ยวและร้องหมู่ จากนั้นครูให้นักเรียน
สังเกตการร้องเพลงว่าเป็นอย่างไร แล้วครูและนักเรียนร่วมกันสรุปหลักในการร้องเพลงไทยสากล
๗. ครูเปิดเทปเพลง เกิดมาพึ่งกัน และเพลง สายฝน หรือครูร้องให้นักเรียนฟัง แล้วร่วมกันสนทนา
เกี่ยวกับ ความหมายของเนื้อร้อง จังหวะ ทำนอง และประเภทของเพลง
๘. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือ มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๕ ให้นักเรียนฝึกอ่านเนื้อเพลง จากนั้นครูแบ่ง
นักเรียน ออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพลงที่ได้ฟัง กลุ่มละ ๑ เพลง ฝึกร้องให้คล่อง แล้วให้
แต่ละกลุ่มออกมา ร้องเพลงให้เพื่อนๆ ฟังที่หน้าชั้น
๙. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การขับร้องเพลงไทยสากล จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึก
ทักษะงานดนตรีใน มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๖
๑๐. ครูให้นักเรียนดูภาพเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ แล้วครูถามนักเรียนว่า รู้จักเครื่องดนตรีชิ้นใดบ้าง
ชื่อว่าอะไร และมีวิธีการบรรเลงอย่างไร
๑๑. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าหาความรู้ ตามหัวข้อต่อไปนี้
- กลุ่มที่ ๑ ค้นคว้าเรื่อง เครื่องดีด - กลุ่มที่ ๓ ค้นคว้าเรื่อง เครื่องตี
- กลุ่มที่ ๒ ค้นคว้าเรื่อง เครื่องสี - กลุ่มที่ ๔ ค้นคว้าเรื่อง เครื่องเป่า
แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมารายงานที่หน้าชั้น
๑๒. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การบรรเลงเครื่องดนตรี
๑๓. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะงานดนตรีใน มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๙
๓) ขั้นสรุป
๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับ การขับร้องและบรรเลงดนตรี
๒. ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๕๒ - ๑๕๕, ๑๕๗, ๑๕๘
๓. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบใน มมฐ. ศิลปะ หน้า ๑๖๐ - ๑๖๒
สื่อการเรียนรู้ ๑. วีดิทัศน์การขับร้องเพลงไทยเดิม
๒. เพลงเขมรอกโครง เพลงลาวเดินดง เพลงเกิดมาพึ่งกัน และเพลงสายฝน
๓. ภาพเครื่องดนตรีไทย
๔. วีดิทัศน์การขับร้องเพลงไทยสากล
การประเมินผล ๑. สังเกตการขับร้องเพลงไทยสากลและเพลงไทยเดิม
๒. สังเกตการบอกหลักการขับร้องเพลง
๓. สังเกตการบอกวิธีการบรรเลงของเครื่องดนตรีต่างๆ
๔. ตรวจแบบฝึกทักษะงานดนตรี แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ
หมายเหตุ : ให้ครูบันทึกหลังการสอน โดยดูแบบบันทึกจาก หน้า ๓


สายน้ำที่ไม่ไหลกลับ

สายน้ำที่ไม่ไหลกลับ

ธรรมชาติที่ไร้พรมแดน

ธรรมชาติที่ไร้พรมแดน

ภาพวิวน้ำตก

ภาพวิวน้ำตก

ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวัน